ประเภทของความสูญเสียการได้ยิน

ทดสอบ การได้ยิน

ประเภทของความสูญเสียการได้ยิน

ในบางครั้งเรามักจะมีอาการเกิดเสียงในหู หรือหูอื้อ ไม่ได้ยินเสียงตัวเอง หรือได้ยินเสียงภายนอกน้อยลง บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ แต่บางครั้งก็ชะล่าใจปล่อยเอาไว้ เพราะคิดว่าเดี๋ยวมันก็หายเองจึงไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษาหรือทดสอบการได้ยิน ปล่อยให้เกิดอาการนานเข้า ๆ สุดท้ายก็ยากที่จะกลับไปเป็นเหมือนปกติ ในวันนี้เราจะมาพาทุกคนไปรู้จักกับประเภทของความสูญเสียการได้ยิน จะได้ไปสังเกตและระวังตัวเองกันเลย

1. การนำเสียงบกพร่อง 

เป็นความผิดปกติเกิดขึ้นในหูชั้นนอกและชั้นกลาง แต่ประสาทหูยังดีอยู่ ซึ่งอาการที่พบทั่วไปคือมีของเหลวออกจากช่องหูอาจจะเป็นเลือดหรือหนอง มีประวัติการอักเสบของช่องหูมาก่อนการพูดคุยมักพูดเสียงเบาทุ้มนุ่มนวล การพูดจาชัดเจนออกเสียงได้ตามปกติ เมื่อทดสอบการได้ยินพบการสูญเสียในช่วงความถี่ต่ำๆ และมักไม่มากกว่า 60 dBH

2. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง 

เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน หรือที่ประสาทรับฟังเสียง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุตั้งแต่กำเนิด หรือสาเหตุจากการใช้ยาบางชนิด โดยจะมีอาการมีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงสูงๆ จะฟังเสียงพูดได้ดีเมื่ออยู่ในที่สงบและจะไม่ค่อยเข้าใจคำพูดเมื่ออยู่ในที่ จอแจ มักไม่ค่อยเข้าใจคำพูดแม้ว่าเสียงพูดนั้นดังถึงระดับการได้ยินปกติแล้วก็ตาม รวมถึงมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนร่วมด้วย

3. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม 

เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความพิการที่หูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในร่วมกัน เช่น โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังซึ่งอาการลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน โรคหินปูนจับแข็งที่ กระดูกโกลน

4. ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง 

เป็นภาวะที่สมองไม่สามารถรับและแปลความหมายได้ จึงไม่สามารถเข้าใจความหมายของเสียงที่ได้ยิน เช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ศูนย์การรับฟังไม่สามารถใช้การได้ จึงทำให้สูญเสียการได้ยินไปนั่นเอง 

สิ่งที่จะทำให้เราทราบดีที่สุดว่าเรามีปัญหาบกพร่องทางการได้ยินหรือไม่ คือการทดสอบการได้ยิน ซึ่งการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน หรือ Audiography เป็นการตรวจการได้ยินเสียง ณ ความถี่ต่างๆ ตั้งแต่ระดับความถี่เสียงสนทนา จนถึง เสียงเครื่องจักร ซึ่งเป็นความถี่ที่ไม่ได้ยินกันในชีวิตประจำวัน หรือคนทั่วไปที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะไม่ได้มีโอกาสสัมผัส โดยการตรวจจะนำ ข้อมูลไปสร้างเป็นกราฟ เรียกว่า ออดิโอแกรม (audiogram) ซึ่งการแปลผลว่ามีสมรรถภาพการได้ยินเป็นอย่างไรนั้นจะดูจากกราฟนี้นั่นเอง 

Intimex ศูนย์บริการร้านเครื่องช่วยฟัง ที่จะช่วยแก้ไขความบกพร่องทางการได้ยิน โดยเริ่มจากการทดสอบการได้ยิน พร้อมวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจได้เลยว่าการได้ยินของคุณจะดีขึ้นได้อีกครั้ง